“ป่าไม้ถาวร” ไม่มีกฏหมายกำหนดไว้โดยตรงว่าให้เป็นป่าอีกประเภทหนึ่งแตกต่างไปจากป่าที่มีกฏหมายกำหนดไว้ เช่น ป่าสงวนแห่งชาติ เป็นต้น
แต่ “ป่าไม้ถาวร” นี้เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พ.ย 2504 ที่ได้มีมติเห็นชอบด้วยตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย
ที่เสนอขออนุมัติให้มีการจำแนกประเภที่ดินในเขตจังหวัดต่างๆ โดยได้จำแนกที่ดินออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ที่ดินที่เป็นเขตป่าที่จะทำการสงวนคุ้มครองไว้เป็นสมบัติของชาติโดยถาวรสืบไป(ป่าไม้ถาวร) และ
  2. ที่ดินบริเวณใดที่จะไม่สงวนไว้เป็นป่าก็กำหนดให้เป็นเขตที่จะเปิดจัดสรรเพื่อเกษตรกรรม และเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่น

กระทรวงมหาดไทยได้รายงานผลดำเนินการของคณะกรรมการสำรวจจะแนกประเภทที่ดินประจำจังหวัดเสนอต่อคณะรัฐมนตรีตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 9911/2504
ลงวันที่ 23 มิถุนายน 2504 ว่า
เขตป่าสงวนคุ้มครอง ในท้องที่ 60 จังหวัด ประมาณ 1,300 แปลง เนื้อที่ประมาณ 279,689.76 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ป่าประมาณร้อยละ 54.63 ของเนื้อที่ประเทศไทย

  1. ป่าที่สมควรจัดสรรเพื่อเกษตรกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นประมาณ 51,196.32 ตารางกิโลเมตร

ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้นำข้อเสนอของคณะกรรมการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามหนังสือกระทรวงมหาดไทยที่ 17901/2504
ลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2504 คือ

  1. ขอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้จังหวัดประกาศเขตป่าที่จะสงวนคุ้มครองและป่าที่จะเปิดจัดสรรเพื่อเกษตรกรรมเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่คณุอนุกรรมการสำรวจ
    จำแนกประเภทที่ดินประจำจังหวัดดำเนินการกำหนดเขตเสร็จไปในท้องที่ 60 จังหวัด (เว้น 10 จังหวัดภาคกลางที่ไม่มีเขตป่าไม้) โดยประมาณตามแผนที่ให้ราษฏร
    และหน่วยราชการที่เกี่ยข้องทราบทั่วกัน
  2. ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการว่า บริเวณป่าที่เห็นสมควรกำหนดเป็นป่าสงวนคุ้มครองดังกล่าวในข้อ 1. เป็นป่ามี่จะรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ หากทบวงการเมืองใด
    ประสงค์จะเข้าไปใช้ประโยชน์ จะต้องทำความตกลงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และได้รับอนุมัติจะกคณะรัฐมนตรีเป็นรายๆไป
  3. ป่าที่เห็นสมควรเปิดจัดสรรเพื่อเกษตรกรรมและเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นตามที่กล่าวในข้อ 1. นั้น ให้จังหวัดและอำเภอท้องที่ดำเนินการจัดสรรให้ประชาชน
    ตามโครงการและระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติโดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากกระทรวงตามมติคณะรัฐมนตรี
    เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2502
  4. ขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจัดลำดับความสำคัญของโครงการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินทั่วประเทศโดยละเอียดซึ่งมีวัตถุประสงค์
    ในการจัดทำ Survey for Use Classification ให้เป็นไปตามหลักวิชาการเป็นพิเศษเพราะโครงการดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง จะเป็นประโยชน์แก่การวางโครงการพัฒนา
    การเศรษฐกิจของชาติให้เป็นผลดียิ่งๆขึ้นไปในภายหน้า

คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2505 ลงมติเห็นชอบและให้ดำเนินการได้ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ 
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2506 ว่าเมื่อคณะกรรมการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินได้ประมวลผลและจำแนกประเภทที่ดินโดยกำหนดพื้นที่ป่าไม้ที่เห็นสมควร
สงวนคุ้มครองโดยแน่นอนเสร็จในจังหวัดใดแล้ว ของให้เขตพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ สำหรับท้องที่จังหวัดนั้นเป็นอันยกเลิก เพราะได้สำรวจเสร็จแล้วและให้ถือเขตพื้นที่ป่าไม้ตามที่คณะกรรมการสำรวจจำแนกประเภทที่ดินได้จำแนกไว้ส่วนที่ดินนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ดังกล่าวให้ถือเป็นเขตที่ดินจัดสรรเพื่อ
การเกษตรกรรมและเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่นซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยจะได้ดำเนินการต่อไปตามกฏหมายป่าไม้ถาวรเกิดขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี
การยกเลิกเขตป่าไม้ถาวรจึงต้องทำโดยมติคณะรัฐมนตรีเช่นเดียวกัน


แผนที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี
             
        ***สัญลักษณ์ แผนที่***
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์
จำนวน 47 ระวาง จำนวน 27 ระวาง จำนวน 29 ระวาง จำนวน 23 ระวาง
  5237 I   5239 I   5437 I   5637 I
  5237 IV   5240 I   5437 II   5637 IV
  5238 I   5240 II   5438 I   5638 I
  5238 II   5241 I   5438 II   5638 II
  5238 III   5241 II   5537 I   5638 III
  5238 IV   5242 II   5537 II   5639 I
  5239 I   5339 I   5537 III   5639 II
  5239 II   5339 IV   5537 IV   5639 IV
  5337 I   5340 I   5538 I   5737 I
  5337 II   5340 II   5538 II   5737 IV
  5337 IV   5340 III   5538 III   5738 I
  5338 I   5340 IV   5538 IV   5738 II
  5338 II   5341 I   5539 I   5738 III
  5338 III   5341 II   5539 II   5738 IV
  5338 IV   5341 III   5539 III   5739 I
  5339 I   5341 IV   5540 I   5739 II
  5339 II   5342 II   5540 II   5739 III
  5339 III   5342 III   5637 III   5739 IV
  5339 IV   5439 IV   5637 IV   5837 IV
  5437 I   5440 I   5638 I   5838 III
  5437 II   5440 III   5638 II   5838 IV
  5437 III   5440 IV   5638 III   5839 III
  5437 IV   5441 I   5638 IV   5839 IV
  5438 I   5441 II   5639 I    
  5438 II   5441 III   5639 II    
  5438 III   5441 IV   5639 III    
  5438 IV   5442 III   5639 IV    
  5439 I       5640 III    
  5439 II       5739 IV    
  5439 III            
  5439 IV            
  5440 I            
  5440 II            
  5440 III            
  5440 IV            
  5537 III            
  5537 IV            
  5538 I            
  5538 III            
  5538 IV            
  5539 I            
  5539 II            
  5539 III            
  5539 IV            
  5540 II            
  5540 III            
  5639 IV