ข้อมูลจังหวัดบุรีรัมย์





ประวัติความเป็นมาของจังหวัดบุรีรัมย์ (HISTORY)

          บุรีรัมย์เป็นเมืองแห่งความรื่นรมย์ตามความหมายของชื่อเมืองที่น่าอยู่สำหรับคนในท้องถิ่นและเป็นเมืองที่น่ามาเยือนสำหรับคนต่างถิ่น เมืองปราสาทหินในเขตจังหวัดบุรีรัมย์มากมีไปด้วย ปราสาทหินใหญ่น้อย อันหมายถึงความรุ่งเรืองมาแต่อดีต จากการศึกษาของนักโบราณคดีพบหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร ์สมัยทราวดี และที่สำคัญที่สุดพบกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดบุรีรัมย์มากคือ หลักฐานทางวัฒนธรรมของเขมรโบราณ ซึ่งมีทั้งปราสาทอิฐ และปราสาทหินเป็นจำนวนมากกว่า 60 แห่ง รวมทั้งได้พบแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคือเตาเผา ภาชนะดินเผา และภาชนะดินเผาแบบที่เรียกว่าเครื่องถ้วยเขมร ซึ่งกำหนดอายุได้ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึง 18 อยู่ทั่วไปหลังจากสมัยของวัฒนธรรมขอมหรือเขมรโบราณ แล้วหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มมีขึ้นอีกครั้งตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ.2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็นจังหวัดบุรีรัมย์มาจนถึงปัจจุบันนี้ชื่อเมืองบุรีรัมย์ ไม่ปรากฎในเอกสารประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาและธนบุรีเฉพาะชื่อเมืองอื่น ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอในจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ เมืองนางรองเมืองพุทไธสง และเมืองประโคนชัย พ.ศ. 2319 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี กรมการเมืองนครราชสีมา มีใบยอกเข้ามาว่า พระยานางรองคบคิดเป็น กบฏร่วมกับเจ้าโอ เจ้าอิน และอุปฮาดเมืองจำปาศักดิ์ จึงโปรดให้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อยังดำรงคำแหน่ง เจ้าพระยาจักรี เป็นแม่ทัพไปปราบจับตัวพระยานางรองประหารชีวิตและสมทบเจ้าพระยาสุรสีห์ (สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท) คุมกองทัพหัวเมืองฝ่ายเหนือยกไปตีเมือง จำปาศักดิ์ เมืองโขง และเมืองอัตปือ ได้ทั้ง 3 เมือง ประหารชีวิต เจ้าโอ เจ้าอิน อุปฮาด เมืองจำปาศักดิ์ แล้วเกลี้ยกล่อมเมืองต่าง ๆใกล้เคียงให้สวามิภักดิ์ ได้แก่ เขมรป่าดง ตะลุบ สุรินทร์ สังขะ และเมืองขุขันธ์ รวบรวมผู้คนตั้งเมืองขึ้นในเขตขอมร้า เรียกว่า เมืองแปะ แต่งตั้งบุรีรัมย์บุตรเจ้าเมืองผไทสมัน (พุทไธสง)ให้เป็นเจ้าเมือง ซึ่งต่อมาได้เป็นพระยานครภักดี ประมาณปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือต้นราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เปลี่ยนชื่อเมืองแปะเป็นบุรีรัมย์ด้วยปรากฎว่า ได้มีการแต่งตั้ง พระสำแดงฤทธิรงค์เป็นพระนครภักดีศรีนครา ผู้สำเร็จราชการเมืองบุรีรัมย์ ขึ้นเมืองนครราชสีมาใน พ.ศ. 2411 เมืองบุรีรัมย์และเมืองนางรองผลัดกันมีความสำคัญเรื่อยมา พ.ศ. 2433 เมืองบุรีรัมย์โอนขึ้นไปขึ้นกับหัวเมืองลาวฝ่ายเหนือ มีหนองคายเป็นศูนย์กลาง และเมืองบุรีรัมย์มีเมืองในสังกัด 1 แห่ง คือเมืองนางรอง ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2440-2441 เมืองบุรีรัมย์ได้กลับไปขึ้นกับมณฑลนครราชสีมาเรียกว่า"บริเวณนางรอง" ประกอบด้วย เมืองบุรีรัมย์ นางรอง รัตนบุรี ประโคนชัย และพุทไธสง พ.ศ. 2442 มีประกาศเปลี่ยนชื่อ มณฑลลาวเฉียงเป็น มณฑลฝ่ายตะวันตกเฉียงเหนือ มณฑลลาวพวนเป็นมณฑลฝ่ายเหนือ มณฑลลาวเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ มณฑลเขมร เป็นมณฑลตะวันออกและในคราวนี้

เปลี่ยนชื่อ บริเวณนางรองเป็น "เมืองนางรอง"มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ตั้งที่ว่าการอยู่ที่เมืองบุรีรัมย์ แต่ตราตำแหน่งเป็นตราผู้ว่าการนางรอง กระทรวงมหาดไทยจึงได้ประกาศเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "บุรีรัมย์" และเปลี่ยนตราตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคมพ.ศ. 2444 เป็นต้นมา พ.ศ. 2450 กระทรวงมหาดไทยปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มณฑลนครราชสีมาประกอบด้วย 3 เมือง 17 อำเภอ คือเมืองนครราชสีมา 10 อำเภอ เมืองชัยภูมิ 3 อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ คือ นางรอง พุทไธสง ประโคนชัย และรัตนบุรี ต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ขึ้น ยุบมณฑลนครราชสีมา จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคออกเป็นจังหวัดและอำเภอ เมืองบุรีรัมย์จึงมีฐานะเป็น "จังหวัดบุรีรัมย์" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สัญลักษณ์ของจังหวัดบุรีรัมย์

ตราประจำจังหวัดบุรีรัมย์
          
เป็นรูปปราสาทเขาพนมรุ้งมีกำแพงล้อมรอบ ภายในเป็นท้องพระโรง มีเทวสถานและรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่บนยอดเขาแห่งนี้ด้วยภาพเทวดาร่ายรำหมายถึงดินแดนแห่งเทพเจ้าผู้สร้าง ผู้ปราบยุคเข็ญ และผู้ประสาทสุข
 ท่าร่ายรำ หมายถึงความสำราญชื่นชมยินดี ซึ่งตรงกับการออกเสียงพยางค์สุดท้ายของเชื่อจังหวัด

ดอกไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ดอกสุพรรณิการ์ หรือ ดอกฝ้ายคำ 


ต้นไม้ประจำจังหวัด ได้แก่ ต้นแป๊ะ 


ต้นไม้มงคลพระราชทาน ได้แก่ ต้นกาฬพฤกษ์ 



สภาพทั่วไปจังหวัดบุรีรัมย์

 

1. ข้อมูลด้านกายภาพของจังหวัด

                   1.1 ลักษณะทางภูมิศาสตร์


จังหวัดบุรีรัมย์ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเส้นรุ้งที่ 14 องศา 15 ลิปดาเหนือ กับ 15 องศา 45 ลิปดาเหนือ  เส้นแวงที่ 102 องศา 30 ลิปดาตะวันออก กับ 103 องศา 45 ลิปดาตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 385 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร

 

2) อาณาเขต

          ทิศเหนือ  ติดต่อกับจังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดสุรินทร์

          ทิศตะวันออก  ติดต่อกับจังหวัดสุรินทร์

          ทิศใต้  ติดต่อกับจังหวัดสระแก้ว และราชอาณาจักรกัมพูชา

           ทิศตะวันตก   ติดต่อกับจังหวัดนครราชสีมา

 

3) สภาพพื้นที่

จังหวัดบุรีรัมย์มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 10,393.945 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,451,178.125 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.11 ของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และคิดเป็นร้อยละ 2.01 ของพื้นที่ประเทศไทย

          - พรมแดนจังหวัดบุรีรัมย์ มีพรมแดนโดยรอบยาวประมาณ 638 กิโลเมตร เป็นพรมแดนที่เป็นธรรมชาติทั้งสิ้น คือ ใช้แนวสันเขาแบ่งยาวประมาณ 170 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24.89 พรมแดนที่เป็นลำน้ำยางประมาณ 363 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 53.15 และใช้เส้นแนวตรงในที่ราบเป็นแนวพรมแดนอีก 150 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 21.96

- รูปร่างของจังหวัดบุรีรัมย์ มีความยาวมากกว่าความกว้าง กล่าวคือ วัดความยาวของจังหวัดจากแผนที่ภูมิศาสตร์ อัตราส่วน 1 : 250,000 ของกรมแผนที่ทหารได้ประมาณ 182 กิโลเมตร ส่วนความกว้างวัดได้ประมาณ 90 กิโลเมตร ในทางภูมิศาสตร์การเมืองได้วิเคราะห์รูปร่างที่ดีของพื้นที่ไว้ว่า จะต้องมีความยาวและความกว้างเท่ากันหรือ ยาว : กว้าง เท่ากับ 1 ซึ่งรูปร่างของพื้นที่ดังกล่าวอาจเกือบกลม หรือ เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เมื่อพิจารณารูปร่างของจังหวัดบุรีรัมย์แล้วจะมีรูปร่างคล้ายเต่า มีหัวอยู่ทางตอนบนและลำตัวอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ ถ้าคิดตามสัดส่วนความยาวต่อความกว้างแล้ว จะมีค่าประมาณ 2.02 ซึ่งเป็นรูปร่างที่ไม่ดี คือไม่กะทัดรัด เพราะจะมีรูปร่างยาวรีในตอนบนแล้วแผ่กว้างทางตอนกลางและตอนใต้ จึงทำให้เกิดข้อเสียในด้านต่างๆ การสื่อสารโทรคมนาคมไม่สะดวก ยากแก่การพัฒนา เสียค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง ตลอดจนการดูแลของเจ้าหน้าที่ไม่ทั่วถึง

(ที่มา : สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์)

 

4) ลักษณะดิน  

ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายถึงทรายจัด มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและง่ายต่อการชะล้างพังทลาย ลักษณะดินในจังหวัดบุรีรัมย์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ดังนี้

          1)  กลุ่มนาดิน   ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 30 ของพื้นที่จังหวัด ครอบตอนกลางเป็นแนวยาวไปตอนใต้ แยกเป็นศูนย์สมบัติของดินได้เป็น 2 ชนิด คือ

                   1.1)  กลุ่มดินนาทั่วไป  ครอบคลุมพื้นที่อำเภอกระสัง  ประโคนชัย   ลำปลายมาศ  นางรอง  เมือง   พุทไธสง  และอำเภอสตึก

                   1.2)  กลุ่มดินนาดี   ส่วนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ทางทิศเหนือของจังหวัด บริเวณลุ่มน้ำมูล ท้องที่อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก

          2)  กลุ่มดินไร่   ครอบคลุมพื้นที่ประมาณร้อยละ 40 ของพื้นที่จังหวัด กระจัดกระจายบริเวณทิศใต้ ท้องที่อำเภอบ้านกรวด ละหานทราย ปะคำ นางรอง หนองกี่ ลำปลายมาศ พุทไธสง สตึก และอำเภอกระสัง ประกอบด้วย ดินไร่ตื้น และดินไร่ทราย

          3)  กลุ่มดินคละ   ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 20 ของจังหวัดอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัดแยกเป็นกลุ่มย่อยได้ ดังนี้

                   3.1)  กลุ่มดินไร่ทั่วไปคละกับดินนาทั่วไป

                   3.2)  กลุ่มนาไร่ทั่วไปคละกับดินนาดี พื้นที่อำเภอลำปลายมาศ หนองหงส์ คูเมือง และอำเภอเมือง

                   3.3)  พื้นที่ภูเขาสูง ครอบคลุมพื้นที่ร้อยละ 10 ของจังหวัด

          4)  ดินเค็ม   จังหวัดบุรีรัมย์มีดินเค็ม 2 ระดับ คือ

                   4.1)  ดินเค็มน้อย มีอยู่ระหว่าง 144,076 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48 ของพื้นที่นา อยู่บริเวณอำเภอพุทไธสง นาโพธิ์ คูเมือง และสตึก

                   4.2)  ดินเค็มปานกลาง พื้นที่ประมาณ 79,748 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่นาอยู่ในอำเภอพุทไธสง

1.2 ลักษณะภูมิอากาศ

          1) ฤดูกาล   มีสภาพอากาศจัดอยู่ภายในเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Tropical Savanna Climate : Aw) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตภูมิอากาศแบบสวันนา (Savanna Climate) ซึ่งเป็นลักษณะอากาศที่มีฤดูแล้งสลับฤดูฝนอย่างเด่นชัด คือ

                    - ฤดูฝน (Rain Season)เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งได้รับอิทธิพล จากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลอันดามัน และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม และมีอิทธิพล ของร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุม (International Tropical Convergence Zone : ITCZ or Monsoon Trough) พาดผ่าน ทำให้เริ่มมีฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงกลางเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคมฝนจะลดน้อยลงมากบางวันอาจไม่มีฝนตกเลย เรียกระยะนี้ว่าระยะฝนทิ้งช่วง (Dry Spell) เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวขึ้นไปพาดผ่านตอนบน ของประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และประเทศจีนตอนใต้ สำหรับในช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายน ฝนจะกลับมาตกชุกอีกครั้งหนึ่งเนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำหรือร่องมรสุมได้เคลื่อนตัวลงมาพาดผ่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในฤดูนี้มักมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวจากทะเลจีนใต้เข้ามามีอิทธิพลต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลี่ยปีละ 1-3 ลูกจากสถิติภูมิอากาศจังหวัดบุรีรัมย์ของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ฝนตกชุกมากที่สุดคือเดือนกันยายนวัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ 245.4 มิลลิเมตร รองลงมาคือเดือนสิงหาคม โดยวัดปริมาณฝนรวมเฉลี่ยได้ 178.0 มิลลิเมตร ปริมาณฝนรวมเฉลี่ยทั้งปี เท่ากับ 1,199.2 มิลลิเมตร

                    - ฤดูหนาว (Winter Season)เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูนี้จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลมที่พัดออกจากความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน มีลักษณะอากาศเย็นและแห้ง ความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจะแผ่ปกคลุมตลอดฤดู อุณหภูมิจะลดต่ำลงทำให้มีอากาศหนาวเย็นโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับกำลังและขนาดของมวลอากาศเย็นนั้น จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า อากาศหนาวเย็นที่สุดอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงมกราคม วัดอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 13.4°ซ และ 13.0°ซ ตามลำดับ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่วัดได้เท่ากับ 7.8°ซ ในเดือนธันวาคม ในฤดูนี้มักประสบปัญหาภัยแล้งเนื่องจากมีฝนลดน้อยลงอย่างมากจนถึงระดับไม่มีฝนตกในฤดูนี้อาจมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนตัวมาจากประเทศพม่าผ่านภาคเหนือของประเทศไทยเข้ามามีอิทธิพลต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ ซึ่งอาจทำให้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ แต่ปริมาณฝนจะไม่มากนัก

                    - ฤดูร้อน (Summer Season)เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ลมที่พัดปกคลุมในฤดูนี้ส่วนใหญ่เป็นลมใต้และลมตะวันตก และมักจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อน (Heat Low) ปกคลุมตลอดฤดู ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป บางวันมีอากาศร้อนจัด สามารถวัดอุณหภูมิได้สูงถึง 41°ซ ขึ้นไป จากสถิติภูมิอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาของจังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนมากที่สุด อุณหภูมิสูงที่สุดที่เคยวัดได้ 41.8°ซ ค่าเฉลี่ยที่ 41.8°ซ ในฤดูนี้จะมีบางช่วงที่มีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาจะเกิดการปะทะกับมวลอากาศร้อนที่ปกคลุมอยู่ก่อนแล้ว ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บตกเกิดขึ้นด้วย เราเรียกพายุชนิดนี้ว่า พายุฤดูร้อน (Summer Storm) ฝนที่ตกลงมาในฤดูนี้ยังมีปริมาณน้อยมักไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก


2 ) ปริมาณน้ำฝน (ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี)

ตาราง ปริมาณน้ำฝน ปี 2552 – 2561

 

ปี

ปริมาณน้ำฝน(มม.)

2552

1,196.80

2553

1,129.70

2554

1,302.10

2555

1,277.40

2556

1,288.10

2557

1,330.50

2558

1,187.40

2559

1,299.20

2560

1,253.10

2561

773.50

 

3) อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ (ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี)

ตาราง อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์สูงสุด – ต่ำสุด ปี 2552 – 2561

 

ปี

อุณหภูมิ (°c)

ความชื้นสัมพัทธ์ (%)

สูงสุด

ต่ำสุด

เฉลี่ยทั้งปี

สูงสุด

ต่ำสุด

เฉลี่ยทั้งปี

2552

36.21

19.24

26.86

97.67

41.83

77.26

2553

36.93

20.14

27.46

97.42

40.75

76.26

2554

35.30

19.51

26.29

97.50

42.08

77.00

2555

36.30

20.03

27.52

97.92

43.58

76.92

2556

36.42

19.83

27.03

97.83

40.92

76.07

2557

36.39

19.85

27.17

98.00

41.58

75.97

2558

37.26

19.89

27.63

98.67

39.00

74.94

2559

37.17

19.00

27.80

97.92

39.75

74.16

2560

36.11

18.83

27.07

98.08

40.58

76.70

2561

36.73

19.18

27.24

97.92

38.17

74.75


1.3แหล่งน้ำธรรมชาติ

ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีลำน้ำที่สำคัญซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีการใช้ประโยชน์ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร และการใช้ประโยชน์ด้านอื่น ๆ หลายสาย ได้แก่

1) ลำจักราช มีลำน้ำสายหลักคือลำจักราช ซึ่งเกิดจากห้วยสาระเพ็ชร และห้วยจักราชในอำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา สภาพทั่วไปลำจักราชจะมีน้ำไหลตลอดลำน้ำ เฉพาะช่วงฤดูฝน มีพื้นที่ลุ่มน้ำ  ประมาณ 1,388 ตร.กม. หรือ 867,500 ไร่   โดยจะไหลผ่านอำเภอหนองกี่ และอำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ และอำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา แล้วไหลรวมบรรจบกับแม่น้ำมูลที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 

2) ลำนางรอง มีต้นกำเนิดอยู่บริเวณเทือกเขาสันกำแพงในแนวรอยต่อจังหวัดบุรีรัมย์กับจังหวัดสระแก้ว ไหลผ่านอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งนี้กรมชลประทานได้สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ไว้ในบริเวณบ้านป่าไม้สหกรณ์ อำเภอโนนดินแดง ได้แก่ เขื่อนลำนางรอง แล้วปล่อยน้ำจากเขื่อน ลงสู่ลำนางรองเดิม ผ่านบ้านโคกใหม่ ตำบลสำโรงใหม่ อำเภอละหานทราย ไปบรรจบกับลำจังหัน ในเขตอำเภอ ปะคำ ไหลคดเคี้ยวเข้าสู่อำเภอนางรอง ที่เป็นช่วงต่อระหว่างสามอำเภอ คือ อำเภอปะคำ อำเภอนางรอง  และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ และมีลำธารเล็กๆ หลายสาย จากภูเขาอังคาร  มารวมลงสู่ ลำนางรอง และไหลบรรจบลงที่ลำปลายมาศ ทั้งนี้  โดยภาพรวม ลำนางรองมีความยาว ประมาณ 115 กม. ครอบคลุมพื้นที่ 1,299.94 ตร.กม. 

3) ลำปะเทีย   มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาพนมดงรักบริเวณพรมแดนไทย-กัมพูชาประชาธิปไตย โดยเป็นลำธารเล็กๆ ไหลลงมารวมกัน ณ บริเวณบ้านไผทรวมพล ตำบลตาจง อำเภอละหานทราย กรมชลประทานได้สร้างเขื่อนลำปะเทียเก็บกักน้ำไว้การใช้สอยโดยชุมชน เส้นทางการไหลของลำปะเทียจะไหลผ่านท้องที่อำเภอละหานทราย อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ นอกจากนี้  ยังมีคลองตาพรม   และคลองลาดกล้วย ซึ่งไหลจากภูเขาอังคารลงมาสมทบ จากนั้นลำปะเทียได้ไหลผ่าน อำเภอนางรอง   และอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วจึงไหลลงบรรจบกับลำนางรองที่บ้านโคกสะอาด อำเภอชำนิ โดยรวมแล้วลำปะเทียมีความยาว ประมาณ 90 กม. 

4) ลำปลายมาศ มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาสันกำแพงในพื้นที่อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ ในช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดบุรีรัมย์ จะมีลำธารเล็กๆ เกิดจากเนินเขาเตี้ยๆ ไหลมาบรรจบกับลำปลายมาศ ทำให้ในช่วงฤดูฝนลำปลายมาศ มีปริมาณน้ำมาก และเกิดน้ำท่วมฉับพลันในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จากนั้นลำปลายมาศจะไหลผ่านบ้านหนองหว้าทางทิศตะวันตกของอำเภอนางรอง และไหลไปลงยังบ้านโคกมักดัน อำเภอหนองกี่ ซึ่งเป็นจุดที่ลำไทรโยง ไหลลงบรรจบ กับลำปลายมาศ ทำให้ลำปลายมาศช่วงนี้มีปริมาณน้ำมาก ในฤดูฝนจึงเกิดน้ำท่วมสองฝั่ง ลำน้ำนี้จะไหล คดเคี้ยวผ่านอำเภอนางรอง อำเภอชำนิ ผ่านบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ ซึ่งเป็นช่วงที่ลำน้ำอีกสองสาย คือ ลำนางรอง และลำปะเทีย ไหลมาบรรจบกับลำปลายมาศ ทำให้ลำปลายมาศมีขนาดใหญ่ขึ้นน้ำเอ่อล้นฝั่ง ทุกปี แต่ในฤดูแล้งน้ำลด ลำปลายมาศจะขาดน้ำเป็นช่วงๆ และลำปลายมาศจะไปบรรจบแม่น้ำมูลที่อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,941 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติ  เฉลี่ย 457 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี ลำปลายมาศมีความยาวโดยรวม  ประมาณ 210 กม. 

5) แม่น้ำมูล (ลำน้ำมูลส่วนที่ 2) มีต้นกำเนิดของแม่น้ำนี้เกิดจากเทือกเขาสันกำแพง ระหว่างเขาวง เขาละมั่ง และเขาใหญ่ จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา ไหลผ่านอำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอพิมาย และอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา ไหลเข้าไปในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ในท้องที่อำเภอพุทไธสง อำเภอคูเมือง อำเภอแคนดง และอำเภอสตึก แล้วไหลผ่าน  อำเภอชุมพลบุรี อำเภอท่าตูม อำเภอรัตนบุรี ในเขตจังหวัดสุรินทร์ หลังจากนั้นไหลผ่านจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี  ลงสู่แม่น้ำโขงที่อำเภอโขงเจียม มีความยาวประมาณ  640 กิโลเมตร แม่น้ำมูล ช่วงที่อยู่ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นลำน้ำมูลส่วนที่ 2 ซึ่งแบ่งเขตระหว่าง  อำเภอคูเมือง กับอำเภอพุทไธสง และแบ่งเขตอำเภอแคนดง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ กับอำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ 

6) ห้วยแอก มีต้นน้ำเกิดจากบริเวณตอนเหนืออำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นลำธารเล็กๆ  หลายสายไหลมารวมกันทางทิศใต้ ที่บริเวณหมู่บ้านตลาดแบ้ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์   จังหวัดบุรีรัมย์ แล้วไหลไปสมทบกับแม่น้ำมูลที่บ้านหนองเรือ ตำบลหายโศก อำเภอพุทไธสง 

7) ลำสะแทด มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงสันปันน้ำระหว่างลุ่มน้ำมูลและลุ่มน้ำชี และอีกส่วนหนึ่งจากต้นน้ำที่ห้วยปราสาทในเขตอำเภอคง และอำเภอขามสะแกแสง จังหวัดนครราชสีมา นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยลำสาขาได้แก่ ลำห้วยตะกั่ว ไหลลงลำสะแทด แล้วลำสะแทด ไหลลงสู่แม่น้ำมูล ที่อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 3,192 ตร.กม. มีปริมาณน้ำท่าตามธรรมชาติ       ประมาณปีละ 385 ล้าน ลบ.ม. โดยรวม ลำสะแทดมีความยาวทั้งสิ้น ประมาณ 145 กิโลเมตร 

8) ลำพังชู มีต้นน้ำเกิดจากที่สูงจากธารน้ำหลายสายในท้องที่อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น และท้องที่อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ กลายเป็นลำพังชู ไหลผ่าน  บ้านแดงใหญ่ บ้านท่างาม อำเภอพุทไธสง และเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์กับอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม จากนั้นไหลไปรวมกับแม่น้ำมูลที่บ้านยางนกฮูก ตำบลบ้านยาง  อำเภอพุทไธสง ลำพังชู มีความยาวประมาณ 53 กิโลเมตร 

9) ห้วยตะโคง มีต้นน้ำเกิดจากเนินเขากระโดง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และมีลำห้วยหลายสาย อาทิ ห้วยจรเข้มาก ห้วยตลาด ห้วยกระโดง ห้วยราช ห้วยยาง ได้ไหลลงมาบรรจบกันเกิดเป็น ห้วยตะโคง แล้วไหลไปทางทิศเหนือของจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านบ้านสวายสอ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ บ้านตะโคง บ้านด่าน บ้านปลัดปุ๊ก อำเภอบ้านด่าน สู่เขตอำเภอสตึก และไหลลงแม่น้ำมูล ห้วยตะโคงมีความยาว ประมาณ 56 กิโลเมตร 

10) ลำชี  เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกของจังหวัด ได้แก่ พื้นที่อำเภอสตึกบางส่วน อำเภอกระสัง อำเภอประโคนชัย อำเภอพลับพลาชัย อำเภอบ้านกรวด อำเภอเมืองบุรีรัมย์บางส่วน และอำเภอห้วยราชบางส่วน มีพื้นที่ลุ่มน้ำประมาณ 2,822 ตารางกิโลเมตร แบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วน คือ

(1) ลุ่มน้ำลำชี ตอนบน มีต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาพนมดงรัก ไหลผ่าน บ้านหนองแวง อำเภอละหานทราย และทางตอนใต้ของอำเภอบ้านกรวด ลำชีในช่วงนี้ มีลำธารเล็กๆ คือ ห้วยเสว ห้วยตะแบก ในท้องที่จังหวัดบุรีรัมย์ และห้วยเสนง ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์ ไหลมาสมทบกัน

(2) ลุ่มน้ำลำชี ตอนล่าง ได้แก่ลำชีในช่วงที่ไหลผ่าน อำเภอประโคนชัย มีห้วยสายตะกู ห้วยโอกะเนียบ ไหลมาสมทบ และยังมีลำน้ำสาขาพื้นที่ในเขตอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์

บางส่วน และอำเภอห้วยราชบางส่วน มีลำสาขาที่สำคัญ คือ ลำห้วยลึก ลำห้วยกระเบื้อง ลำชีน้อยที่เป็นต้นน้ำของลำชี โดยลำสาขาดังกล่าวไหลลงลำชี แล้วลำชีไหลไปบรรจบกับแม่น้ำมูลที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

ต่อไป


1.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ

1. ป่าไม้

จังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่ทั้งหมด 6,451,178 ไร่ เป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ   1,750,070 ไร่หรือร้อยละ   27.13  ของพื้นที่จังหวัด  มีป่าสงวนแห่งชาติ 22 แห่ง อุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติตาพระยา   วนอุทยาน  1 แห่ง วนอุทยานเขากระโดง ส่วนใหญ่พื้นที่ป่าไม้มีอยู่ในเขตอำเภอโนนดินแดง ละหานทราย บ้านกรวด ประโคนชัย นางรอง คุเมือง ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้แดง ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง มีสภาพเป็นป่าโปร่ง หรือป่าโคก มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ประมาณ 5 – 6 % ของพื้นที่ทั้งจังหวัด

2. หิน   

บุรีรัมย์มีภูเขาไฟที่ดับแล้ว 5 ลูก บริเวณรอบๆ ภูเขาไฟ ยังอุดมไปด้วยหินบะซอลต์ที่มีคุณภาพดี แข็งแกร่ง เหมาะสำหรับให้ใช้ในการก่อสร้างอาคาร ถนน  และงานก่อสร้างทั่วๆ ไป จึงมีผู้ประกอบกิจการโรงโม่หินในจังหวัดจำนวนมากถึง 10 โรง ส่งหินที่บดย่อยแล้วไปขายในหลายๆ จังหวัด

3. ทรายน้ำจืด

มีทรายน้ำจืดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำมูล ในท้องที่อำเภอคูเมือง พุทไธสง และอำเภอสตึก มีผู้ประกอบการดูดทรายหลายราย


ข้อมูลด้านการปกครองของจังหวัด

 

                   การแบ่งเขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 23 อำเภอ 188 ตำบล 2,546 หมู่บ้าน   การปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง  เทศบาลตำบล 46 แห่ง  และองค์การบริหารส่วนตำบล 160  แห่ง   รายละเอียดดังนี้

ตาราง การแบ่งเขตการปกครองของจังหวัดบุรีรัมย์

 

อำเภอ

พื้นที่

(ตร.กม.)

ร้อยละ

ที่ว่าการอำเภอห่างจากศาลากลางจังหวัด (กม.)

จำนวน

ตำบล

หมู่บ้าน

เทศบาลนคร/เมือง/ตำบล

อบต.

ชุมชน

1.เมืองบุรีรัมย์

718.24

6.91

-

18

323

-/1/2

16

18

2.นางรอง

914.00

8.79

54

15

188

-/-/3

14

20

3.ประโคนชัย

890.12

8.56

44

16

182

-/-/1

14

16

4.พุทไธสง

329.00

3.17

64

7

97

-/-/1

7

9

5.ลำปลายมาศ

802.95

7.73

32

16

216

-/-/2

15

10

6.สตึก

803.00

7.73

40

12

179

-/-/8

12

16

7.กระสัง

652.70

6.28

32

11

168

-/-/1

8

4

8.ละหานทราย

669.00

6.44

100

6

84

-/-/4

3

17

9.บ้านกรวด

583.00

5.61

66

9

115

-/-/5

6

18

10.คูเมือง

442.00

4.25

33

7

106

-/-/2

7

10

11.หนองกี่

385.05

3.70

83

10

108

-/-/3

8

18

12.ปะคำ

269.03

2.59

78

5

77

-/-/1

4

10

13.หนองหงส์

335.00

3.22

60

7

100

-/-/1

6

11

14.นาโพธิ์

255.00

2.45

78

5

65

-/-/2

5

8

15.พลับพลาชัย

306.67

2.95

40

5

67

-/-/2

4

8

16.ห้วยราช

174.50

1.68

12

8

80

-/-/2

6

13

17.โนนสุวรรณ

189.63

1.82

40

4

56

-/-/2

3

9

18.ชำนิ

242.00

2.33

70

6

63

-/-/2

5

-

19.โนนดินแดง

448.06

4.31

92

3

37

-/-/1

3

12

20.เฉลิมพระเกียรติ

350.00

3.37

68

5

67

-/-/1

2

15

21.บ้านใหม่ไชยพจน์

178.00

1.71

85

5

55

-/-/3

5

7

22.บ้านด่าน

159.00

1.53

15

4

59

-/-/1

3

-

23.แคนดง

298.00

2.87

56

4

54

-/-/1

4

7

รวม

10,393.95

100

 

188

2546

-/1/51

160

256


ข้อมูลประชากร

ตาราง  จำนวนประชากรของจังหวัดบุรีรัมย์ปี พ.ศ.2561

 

อำเภอ

ชาย

(คน)

หญิง

(คน)

รวม

ประชากร

(คน)

จำนวน

ครัวเรือน

1. เมืองบุรีรัมย์

87,342

89,944

177,286

49,859

2. บ้านกรวด

37,045

37,057

74,102

19,798

3. กระสัง

52,015

52,720

104,735

25,430

4. ละหานทราย

35,820

35,023

70,843

11,140

5. ลำปลายมาศ

67,710

60,472

128,182

27,673

6. นางรอง

44,035

44,924

88,959

21,133

7.พุทไธสง

22,829

23,569

46,398

11,969

8.สตึก

34,818

35,489

70,307

21,894

9.ประโคนชัย

62,061

63,672

125,733

19,556

10.คูเมือง

26,993

27,274

54,267

12,921

11.หนองกี่

34,738

34,083

68,821

15,336

12.ปะคำ

8,482

13,655

22,137

834

13.หนองหงส์

25,249

24,739

49,988

12,545

14.นาโพธิ์

10,744

11,615

22,359

7,532

15.พลับพลาชัย

21,989

21,944

43,933

10,583

16.ห้วยราช

18,028

18,156

36,184

8,348

17.โนนสุวรรณ

11,578

11,542

23,120

6,690

18.ชำนิ

17,410

17,429

34,839

8,301

19.บ้านใหม่ไชยพจน์

13,335

13,619

26,954

6,543

20.โนนดินแดง

14,089

13,923

28,012

8,462

21.เฉลิมพระเกียรติ

18,316

18,594

36,910

9,979

22. บ้านด่าน

15,053

15,467

30,520

6,083

23.แคนดง

16,355

16,014

32,369

8,202

รวม

696,034

700,924

1,396,958

330,811


ข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรม

          1. ลักษณะทางสังคม

           -ข้อมูลการปกครอง/ประชากร

                   ข้อมูล ณ ปี 2559 ประกอบด้วย ๒๓ อำเภอ ๑๘๘ ตำบล ๒,๕๔๖ หมู่บ้าน ๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด 3 เทศบาลเมือง ๕9 เทศบาลตำบล ๑46 องค์การบริหารส่วนตำบล 444,027 ครัวเรือนประชากร 1,586,028 คน (ชาย 790,451 คน หญิง 795,577 คน)อำเภอเมืองบุรีรัมย์มีประชากรมากที่สุดมีจำนวน 219,273 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 13.83 ส่วนอำเภอโนนสุวรรณมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดมีจำนวน 25,051 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 1.58

ตาราง จำนวนและร้อยละขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น   

 

ประเภทองค์กร

จำนวน (แห่ง)

ร้อยละ     (%)

องค์การบริหารส่วนจังหวัด

1

๐.48

เทศบาลเมือง

3

1.44

เทศบาลตำบล

59

28.23

องค์การบริหารส่วนตำบล

146

69.85

รวมทั้งหมด

2๐9

1๐๐

2. วัฒนธรรมและกลุ่มชาติพันธุ์

ประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ มีกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิม ๔ กลุ่ม คือ กลุ่มไทย-โคราช กลุ่มไทยอีสานหรือไทย-ลาว กลุ่มไทย-เขมร และกลุ่มไทย-กวย นอกจากภาษาเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญสำหรับความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์เหล่านั้นแล้ว วิถีชีวิตส่วนรวมของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ก็ยังมีเอกลักษณ์ของตนเองที่สามารถบอกได้ว่าเป็นชาติพันธุ์นั้น ๆ อีกด้วย

               1. กลุ่มไทย-โคราช กลุ่มไทยโคราชส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเขตอำเภอปะคำ นางรอง หนองกี่และลำปลายมาศ ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๑๕% ของประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์การแต่งกายจะนุ่งโจงกระเบนทั้งชายและหญิง เสื้อคอกลมผ้าขาวม้าพาดบ่าด้านซ้ายหญิงนิยมทัดดอกไม้ที่หูชาวไทยโคราชเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ว่านอนสอนง่ายเชื่อฟัง พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และเชื่อฟังผู้นำ ไม่ประพฤติล่วงเกินคำสั่งสอนของผู้เป็นบุพการีความเชื่อถือ การทำบุญใส่บาตร ส่งผลบุญไปให้บรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่นิยมทำกันในระหว่างเดือน ๖ ไม่กำหนดวันที่แน่นอน เป็นการทำบุญประจำหมู่บ้าน ซึ่งเชื่อว่าเป็นการส่งผลบุญไปให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณความเชื่อเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ คือการทำนา ทำไร่  เมื่อถึงฤดูการทำนาคือเดือน ๖ ทุกปี เมื่อก่อนจะลงนา ลงทำไร่ ไถนา จะต้องประกอบพิธีแรกนา (แรกนาขวัญ) เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่การประกอบอาชีพ

2. กลุ่มไทย-อีสาน หรือ ไทย-ลาว จากการศึกษาความเป็นมาของไทยลาวในจังหวัดบุรีรัมย์ ดั้งเดิมนั้น มักจะอยู่ทางเหนือแม่น้ำมูล โดยเฉพาะเผ่าพันธุ์ คนพุทไธสง นาโพธิ์ และบ้านใหม่ไชยพจน์ ที่ติดกับเขตจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม เป็นเชื้อสายที่อพยพเนื่องจากการศึกสงครามสรุปได้ว่าชาติพันธุ์ไทย-ลาว ซึ่งเป็นชาวบุรีรัมย์ดั้งเดิม มาจากนครเวียงจันทน์และในแถบภูมิภาคนี้ ลาวเคยปกครองมาก่อนเผ่าพันธุ์เชื้อสายยังคงสืบทายาทกันต่อๆกันมาดังกล่าว ไว้ข้างต้นและกระจายกันไปในพื้นที่ต่างๆในจังหวัดบุรีรัมย์ เช่น ที่อำเภอลำปลายมาศ อำเภอหนองหงส์ ฯลฯ เป็นต้น (ที่มา จากการสัมภาษณ์ คุณปู่ประวัติ วิศิษฎ์ศิลป์ (จีนไธสง) เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๐๐ ต้นตระกูลหนึ่งของบ้านมะเฟือง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์)   กลุ่มไทย-ลาวในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตอำเภอพุทไธสง อำเภอนาโพธิ์ อำเภอสตึก อำเภอลำปลายมาศ อำเภอคูเมือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ อำเภอหนองกี่ อำเภอแคนดง แต่ปัจจุบันได้กระจัดกระจายเกือบทุกอำเภอ คนไทยเชื้อสายลาวมีประมาณ ๓๕ % ของประชากรในจังหวัดบุรีรัมย์ลักษณะการแต่งกายชายนิยมแต่งกายแบบผ้าขาก๊วย หรือโสร่ง นิยมนุ่งผ้าหัวกูด (หัวกุด) เสื้อนิยมนุ่งเสื้อม่อฮ่อม ทอเอง ตัดเอง ส่วนมากเป็นสีคราม

3. กลุ่มไทย-เขมร จังหวัดบุรีรัมย์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีประชากรชาวเขมรอาศัยอยู่มาก ทั้งนี้เพราะจังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยและจังหวัดสุรินทร์   ชาวไทย-เขมรในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่อพยพมาจากจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ประชากรที่พูดภาษาไทย เขมรส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดบุรีรัมย์ ได้แก่ อำเภอประโคนชัย  อำเภอบ้านกรวด อำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย อำเภอกระสัง อำเภอพลับพลาชัย อำเภอสตึก และอำเภอเมืองบุรีรัมย์กลุ่มชาวไทย-เขมร ในจังหวัดบุรีรัมย์ดำเนินชีวิตด้วยเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของกลุ่มตนเองไว้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะด้านความเชื่อ เช่น ความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ เครื่องรางของขลัง การเสกเป่า ยาสั่ง และการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ซึ่งมีการสืบต่อกันมาโดยมีผู้นำสืบทอดสู่ชนรุ่นหลังอย่างเหนียวแน่นสำหรับประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อ ชาวไทย-เขมรมีขนบธรรมเนียมประเพณีอย่างหนึ่ง คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตาย เรียกว่า การทำบุญโดนตา คือการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ตายไปแล้ว นิยมทำกันในวันสิ้นเดือน ๑๐ ประเพณีเกี่ยวกับการตาย จะนิยมฝังเอาไว้ก่อนจะไม่เผา ๓-๔ ปี จึงจะขุดเอาขึ้นมาเผา

4. กลุ่มไทย-กวย ปัจจุบันมีชาวไทย-กวย (ส่วนมากจะเรียกส่วย หรือกูย) กระจายอยู่ทั่วไปในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และบางส่วนของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้อพยพไปจากจังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษสำหรับชาวกวยในจังหวัดบุรีรัมย์ซึ่งอพยพมาจากจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ และจังหวัดสุรินทร์ เมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีกว่ามาแล้ว ได้เข้ามาอยู่ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์ หนองกี่ ลำปลายมาศ กระสัง สตึกพลับพลาชัย บ้านด่าน และประโคนชัยเป็นส่วนใหญ่ชาวไทย-กวย พวกเขาจะเรียกตัวเองว่า กูย คำว่าส่วยเป็นคำพูดเรียกชื่อที่ชนชาติอื่นเรียกพวกเขา ซึ่งปกติพวกเขาไม่ชอบคำว่า ส่วย ผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับชนชาติส่วยคือ นายนุพรรณ ศรีแก้ว อยู่บ้านเลขที่ ๑๑๒ หมู่ ๓บ้านโคกว่าน ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์ การนุ่งห่มและการแต่งกายของชนชาวส่วยนิยมการแต่งกายนุ่งห่มเหมือนชนชาวเขมรแต่พิเศษคือนิยมทัดดอกไม้ที่อยู่ทั้งสองข้างจะเป็นดอกไม้สีอะไรก็ได้ ในงานพิธีต่างๆ ถ้าเห็นการแต่งกายทัดดอกไม้ที่หูปัจจุบันนี้ชาวไทยส่วยในจังหวัดบุรีรัมย์มีอยู่ประมาณ ๒%ชนชาวกวยจะถือเคร่งในเรื่องการตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ เช่นในทุกปีในช่วงสงกรานต์ พวกลูกหลานจะต้องหาบน้ำไปให้พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย อาบ พร้อมทั้งหาเสื้อผ้าใหม่ ๆ ให้ผลัดเปลี่ยนเป็นประจำทุกปี เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดาไม่ประพฤตินอกรีดนอกรอย ความเชื่อเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนมากจะคล้ายกับพวกเขมร เช่น การตายจะไม่นิยมเผาแต่จะฝังไว้ก่อนเป็นต้น


ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

1. การคมนาคมขนส่ง

จังหวัดบุรีรัมย์สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และยังมีสนามบินพาณิชย์ เปิดบริการระหว่างกรุงเทพฯ-บุรีรัมย์

          1.1   ทางรถยนต์

 - เส้นทางสายหลัก  จำนวน   1 สาย  คือ หมายเลข 24

                     - เส้นทางสายรอง มี 4 สาย คือ หมายเลข 218  219   226 และ 348

                     - เส้นทางย่อยระหว่างอำเภอ  มี   คือ  หมายเลข  2226   2074  2223  2378   2208  2165  2117   2120  2317  และ   2365

          1.2   ทางรถไฟ   มีรถไฟผ่านพื้นที่ตอนกลางของจังหวัด   โดยผ่านอำเภอลำปลายมาศ เมืองบุรีรัมย์ ห้วยราช และกระสัง  มีขบวนรถไฟไป-กลับ  ผ่าน   26 เที่ยวต่อวัน

1.3   ทางเครื่องบิน   การพาณิชย์ได้เปิดเที่ยวบินให้บริการโดยสารการบินของบริษัท    นกแอร์ จำกัด กรุงเทพ-บุรีรัมย์  

 

2. ไฟฟ้า

ตาราง ข้อมูลด้านไฟฟ้าจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกรายปี

 

ข้อมูล

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

กำลังการผลิตไฟฟ้า 

(เมกะวัตต์)

350.0

140.5

145.5

ปริมาณการใช้ไฟฟ้า

(เมกะวัตต์)

200.5

72.7

79.4

จำนวนผู้ใช้ไฟฟ้า (ครัวเรือน)

221,162

230,711

234,239

 

3. ข้อมูลด่านการกักกันของจังหวัด (โปรดทำเครื่องหมาย   )

มีด่านศุลกากร ที่ตั้ง..........................................ประเภท...............................................................

  ตรวจพืช ที่ตั้ง.......................................................................................................................

       มีห้องปฏิบัติการเบื้องต้น     ไม่มี    มี   ที่ตั้งสถานกักกันพืช       ไม่มี      มี

 ตรวจประมง ที่ตั้ง.................................................................................................................

       มีห้องปฏิบัติการเบื้องต้น      ไม่มี       มี  ที่ตั้งสถานกักกันสัตว์น้ำ       ไม่มี       มี

  ปศุสัตว์   ที่ตั้งบ้านเลขที่ 1 หมู่ 18 บ้านหนองต้อ ตำบลหูทำนบ อำเภอปะคำ จังหวัดบุรีรัมย์

       มีห้องปฏิบัติการเบื้องต้น      ไม่มี       มี  ที่ตั้งด่านกักกันสัตว์       ไม่มี       มี

 


4. ข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

- น้ำประปา

ตาราง ข้อมูลด้านน้ำประปาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกรายปี

 

ข้อมูล

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

จำนวนผู้ใช้น้ำประปา

61,884

62260

66,230

ปริมาณน้ำผลิตจริง (ลบ.ม)

20,509,614

20,600,636

20,937,884

ปริมาณน้ำขาย (ลบ.ม.)

15,138,011

15,297,997

16,050,162

          

- การใช้พลังงาน

ตาราง ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลูกค้าน้ำมันจำหน่ายให้ลูกค้าจำแนกรายปี

 

ข้อมูล

ปี พ.ศ.

2559

(ปริมาณ/พันลิตร)

2560

(ปริมาณ/พันลิตร)

2561

(ปริมาณ/พันลิตร)

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85

1,338

7,701

2,427

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20

15,165

15,935

18,085

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91

40,841

44,707

53,251

น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95

25,686

31,739

39,653

น้ำมันเบนซิน

4,417

4,082

3,619

น้ำมันดีเซล

288,317

304,093

289,432

น้ำมันเตา

1,355

521

447

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

31,396

31,519

32,235

ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของจังหวัด

          1. สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไป   (ทีมา : สำนักงานคลังจังหวัด)

                   สภาพทางเศรษฐกิจ  โครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดบุรีรัมย์  ขึ้นกับการผลิต  ๔ สาขาหลัก ได้แก่ สาขาเกษตร สาขาการค้า สาขาอุตสาหกรรม และสาขาการบริการ

                   -  ภาคการเกษตร    ด้านการเกษตร จังหวัดบุรีรัมย์มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ 4 ชนิด ได้แก่  ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง  และยางพารา ดังนี้

       1) ข้าว

                                  -ข้าวเปลือกทุกชนิด (ยกเว้นข้าวหอมมะลิ)

ตาราง ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวเปลือกทุกชนิด (ยกเว้นข้าวหอมมะลิ) และผลผลิต จำแนกรายปี

 

ข้าวทั่วไป

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

295,949

273,491

89,195

ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)

346

415

380

ผลผลิต (ตัน)

102,398

134,987

30,504

ราคาเฉลี่ย/ตัน (บาท)

7,800

10,476

11,000

มูลค่ารวม (ล้านบาท)

79,870

118,901

335.54

จำนวนเกษตรกร (ราย)

22,200

21,037

12,043

-ข้าวเปลือกหอมมะลิ

ตาราง ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวหอมมะลิและผลผลิต จำแนกรายปี

 

ข้าวหอมมะลิ

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

2,485,330

2,532,728

2,696,002

ผลผลิต (ตัน)

346

380.7

365

ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)

859,924

964,209.55

893,716

ราคาเฉลี่ย/ตัน (บาท)

9,000

11,120

13,000

มูลค่ารวม (ล้านบาท)

7,739.32

10,722.01

11,618

จำนวนเกษตรกร (ราย)

146,320

181,278

195,741

 

2) มันสำปะหลัง

ตาราง ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังและผลผลิต จำแนกรายปี

 

มันสำปะหลัง

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

326,805

281,494

312,566

ผลผลิต (ตัน)

1,723,876

1,266,723

1,275,269.28

ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)

4,140

4,500

4,080

ราคาเฉลี่ย/ตัน (บาท)

1,650

1,820

2,770

มูลค่ารวม (ล้านบาท)

2,844.40

2,305.44

3,532.49

จำนวนเกษตรกร (ราย)

24,950

24,777

21,155

 

3) อ้อย

ตาราง ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกอ้อยและผลผลิต จำแนกรายปี

 

อ้อย

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

279,101

270,624

280,915.25

พื้นที่เก็บเกี่ยว (ไร่)

279,101

270,624

264,237

ผลผลิต (ตัน)

3,489,946

2,976,864

2,970,033

ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)

12,504

11,000

11,240

ราคาเฉลี่ย/ตัน (บาท)

1,200

988

770

มูลค่ารวม (ล้านบาท)

4,187.93

2,941.14

2,286.92

จำนวนเกษตรกร (ราย)

18,600

18,045

16,378

4) ยางพารา

ตาราง ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกยางพาราและผลผลิต จำแนกรายปี

 

ยางพารา

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

พื้นที่เพาะปลูก (ไร่)

276,733.25

272,536

277,407

เนื้อที่กรีดยาง (ไร่)

202,308.75

194,563

204,598

ผลผลิต (ตัน)

54,825.6

41,831

43,683

ผลผลิตต่อไร่ (กก./ไร่)

271

215

214

ราคาเฉลี่ย/ตัน (บาท)

56,250

47,000

30,240

มูลค่ารวม (ล้านบาท)

3,083.94

1,966.06

1,321

จำนวนเกษตรกร (ราย)

17,572

17,572

16,488

                   

 ด้านปศุสัตว์

          จังหวัดบุรีรัมย์มีสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ประเภท ได้แก่ โคเนื้อ โคนม กระบือ ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ดังนี้

1)  โคเนื้อ

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อ จำแนกรายปี

 

โคเนื้อ

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

จำนวนโคเนื้อที่เลี้ยง (ตัว)

159,190

201,158

237,757

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง(ราย)

34,337

37,536

38,998

ราคาเฉลี่ยเนื้อชำแหละแล้ว(บาท/กก.)

290

290

290

ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว)

32,000

30,000

30,000

มูลค่ารวม (เฉลี่ย/ตัว x จำนวนโค)

5,094,080,000

6,034,740,000

7,132,710,000

จำนวนโรงฆ่าสัตว์ (แห่ง)

1

1

1

 

2)  โคนม

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงโคนม จำแนกรายปี

 

โคนม

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

จำนวนโคนมที่เลี้ยง (ตัว)

4,921

4,800

5,436

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง(ราย)

109

131

130

ปริมาณน้ำนมที่รีดได้ (กก.)

9,711,000

557,427,150

10,074,000

ราคาเฉลี่ย (บาท/กก.)

19

18.79

19.3

มูลค่ารวมน้ำนมดิบ (บาท)

184,509,000

104,740,561

194,428,200

3) กระบือ

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงกระบือ จำแนกรายปี

 

กระบือ

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

จำนวนกระบือที่เลี้ยง (ตัว)

62,014

85,313

96,563

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง(ราย)

13,989

16,709

17,124

ราคาเฉลี่ยเนื้อชำแหละแล้ว(บาท/กก.)

290

290

280

ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว)

42,000

40,000

39,000

มูลค่ารวม (เฉลี่ย/ตัว xจำนวนกระบือ)

2,604,588,000

3,412,520,000

3,765,957,000

 

4) แพะ

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงแพะ จำแนกรายปี

 

แพะ

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

จำนวนแพะที่เลี้ยง (ตัว)

-

3,130

4,481

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง (ราย)

-

203

247

ราคาเฉลี่ยแพะเนื้อมีชีวิต (บาท/กก.)

-

100

110

ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว)

-

3,000

3,300

ผลิตลูกได้เฉลี่ย/ปี  (ผลิตลูกได้ 1.68 ตัว/ปี)

-

5,258

7,528

มูลค่ารวม (ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว) × ผลิตลูกได้เฉลี่ย/ปี)

-

15,775,200

24,842,664

 

5) แกะ

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงแกะ จำแนกรายปี

แกะ

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

จำนวนแกะที่เลี้ยง (ตัว)

-

24

159

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง (ราย)

-

6

22

ราคาเฉลี่ยแกะเนื้อมีชีวิต (บาท/กก.)

-

115

115

ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว)

-

36

239

ผลิตลูกได้เฉลี่ย/ปี  (ผลิตลูกได้ 1.68 ตัว/ปี)

-

3,450

3,450

มูลค่ารวม (ราคาเฉลี่ย (บาท/ตัว) × ผลิตลูกได้เฉลี่ย/ปี)

-

124,200

822,825

6) ไก่พื้นเมือง

ตาราง ข้อมูลการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จำแนกรายปี

 

ไก่พื้นเมือง

ปี พ.ศ.

2559

2560

2561

จำนวนไก่พื้นเมืองที่เลี้ยง (ตัว)

-

2,471,036

2,629,226

จำนวนเกษตรกรที่เลี้ยง (ราย)

-

83,849

86,932

ราคาเฉลี่ยไก่มีชีวิต (บาท/กก.)

-

100

110

ราคาเฉลี่ยไก่มีชีวิต (บาท/ตัว)

-

150

165

ราคาเฉลี่ยเนื้อไก่ชำแหละแล้ว (บาท/กก.)

-

150

170

มูลค่ารวม (เฉลี่ย/ตัว×จำนวนไก่พื้นเมือง)

-

370,655,400

433,822,290

 

          -  ภาคอุตสาหกรรม

ข้อมูล ปี 2561 มีโรงงานอุตสาหกรรม  จำนวน   559 แห่ง เงินลงทุน 26,705.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีมูลค่าการลงทุน 25,775.10 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น โรงสีข้าว โรงงานแปรรูปมันสำปะหลัง โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตยางแผ่น ยางแท่ง เป็นต้น การลงทุนส่วนใหญ่เป็นภาคการเกษตร รองลงมาได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า และเครื่องแต่งกาย

ตาราง จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมและเงินลงทุน จำแนกรายปี

 

รายการ

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

โรงงานอุตสาหกรรม (แห่ง)

559

582

581

เงินลงทุน (ล้านบาท)

26,705.04

27,251.50

28,081.48

 

ตาราง จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมแยกตามประเภท/สาขาอุตสาหกรรมในจังหวัดบุรีรัมย์จำแนกรายปี

 

ประเภท/สาขาอุตสาหกรรม

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

แห่ง

เงินทุน

(ล้านบาท)

แห่ง

เงินทุน

(ล้านบาท)

แห่ง

เงินทุน

(ล้านบาท)

1. การเกษตร

81

3,247.39

83

3,271.39

86

3,686.71

2. อาหาร

56

2,421.61

61

2,592.47

64

2,639.07

3. เครื่องดื่ม

3

2,528.07

3

2,531.07

3

2,531.07

4. สิ่งทอ

3

180.80

3

180.8

3

180.80

5. เครื่องแต่งกาย

17

1,026.44

15

994.44

13

946.44

6. เครื่องหนัง

4

303.28

4

303.28

4

303.28

7. ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้

42

781.69

43

794.58

47

807.03

8. เฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือน

15

32.45

14

31.99

14

31.99

9. กระดาษและผลิตภัณฑ์จากกระดาษ

-

-

-

-

-

-

10. สิ่งพิมพ์

1

18.81

1

18.8

1

18.80

11. เคมี

11

137.61

12

,188.61

12

188.61

12. ปิโตรเคมีและผลิตภัณฑ์

12

382.35

13

412.65

14

447.33

13. ยาง

16

543.69

16

543.69

15

539.33

14. พลาสติก

3

12.05

5

52.05

6

56.03

15. อโลหะ

82

1,411.15

89

1,459.55

87

1,472.88

16. โลหะ

1

1.00

1

1

1

1.00

17. ผลิตภัณฑ์โลหะ

56

241.31

59

257.26

59

289.26

18.เครื่องจักรกล

17

60.62

18

69.62

18

69.62

11,661.02

19. ไฟฟ้า

23

11,293.82

23

11,293.82

25

11,661.02

20. ขนส่ง

60

1,111.78

62

1,266.78

59

1,265.13

21. อื่นๆ

56

969.12

57

987.58

50

946.01

รวม

559

26,705.04

582

27,251.50

581

28,081.48

-  ภาคการพาณิชยกรรม/การค้าชายแดน   รวมถึงการค้าและบริการ   ธุรกิจการค้าที่สำคัญในจังหวัด  คือ   ธุรกิจค้าส่ง ประเภทวัตถุดิบยานยนต์/อุปกรณ์ชิ้นส่วน สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง มูลค่าประมาณร้อยละ 60 และธุรกิจค้าปลีก 

ตาราง ตารางแสดงมูลค่าการลงทุนการค้าชายแดน (มูลค่าการนำเข้าและส่งออก) จำแนกรายปี

รายการ/ปี

2559

2560

2561

 

อัตราการเปลี่ยนแปลง

(ร้อยละ)

2559

2560

2561

มูลค่าการส่งออก 

(ล้านบาท)

567.793

143.393

125.029

1034.97

-74.75

-12.81

มูลค่าการนำเข้า (ล้านบาท)

39.674

46482

32.442

-4.14

17.16

-30.21

ดุลการค้า (ล้านบาท)

528.119

96.911

92.587

6014.61

-81.65

-4.46

มูลค่าการค้ารวม (ล้านบาท)

602.468

189.875

157.472

587.67

-68.74

-17.07









                   1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดบุรีรัมย์ (GPP) 16 สาขา  

ตาราง ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) และ รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากร ณ ราคาประจำปีจำแนกรายปี

 

ข้อมูล

ปี พ.ศ. 

2556

2557

2558

ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) ล้านบาท

77,112

72,896

73,471

รายได้เฉลี่ยประชากร (บาท/คน/ปี)

61,057

57,892

58,554

 

ตาราง ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) จำแนกตามประเภท/รายปี (หน่วย :ล้านบาท)

 

ด้าน

ปี พ.ศ. 

 2556 

 2557 

 2558

1.เกษตรกรรม

23,581

20,236

18,263

 

2.ประมง

135

134

142

 

3.เหมืองแร่

411

381

400

 

4.อุตสาหกรรม

9,275

9,138

9,662

 

5.ไฟฟ้าฯ

1,138

1,238

1,256

 

6.ก่อสร้าง

2,677

2,502

2,991

 

7.ขายส่ง ขายปลีกฯ

9,252

9,495

9,831

 

8.โรงแรมและภัตตาคาร

272

288

351

 

9.ขนส่งฯ

1,420

1,422

1,548

 

10.ตัวกลางทางการเงิน

4,632

5,240

5,736

 

11.อสังหาริมทรัพย์

4,348

2,657

2,747

 

12.บริหารราชการแผ่นดิน

3,933

2,886

3,735

 

13.การศึกษา

12,802

13,783

12,953

 

14.สุขภาพฯ

1,735

1,908

2,079

 

15.บริการชุมชนฯ

1,054

1,155

1,306

 

16.ลูกจ้างในครัวเรือน

445

434

471

 

17.อื่นๆ

-

-

-

 

รวม

77,112

72,896

73,471

 


ข้อมูลด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   เช่น ด้านสังคม การท่องเที่ยว แรงงาน วัฒนธรรม


1. ภาคการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์เป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอารยธรรมขอมโบราณ  เช่น   ปราสาทเขาพนมรุ้ง  ปราสาทเมืองต่ำ  เขาอังคาร เขาปลายบัด บุรีรัมย์เป็นเมืองภูเขาไฟ มีภูเขาไฟที่ดับแล้ว จำนวน  ๖ แห่ง   มีปล่องภูเขาไฟที่ชัดเจน โดยเฉพาะที่เขากระโดง  ในเขตอำเภอเมืองฯ เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำบุรีรัมย์ (อ่างเก็บน้ำสนามบินเก่า  อ่างเก็บน้ำห้วยตลาด  และอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่   วนอุทยานเขากระโดงมีแหล่งศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิต  ได้แก่   ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ในต้นเดือนเมษายนของทุกปี  กลุ่มเตาเผาเครื่องเคลือบพันปี ศูนย์หัตถกรรมอำเภอนาโพธิ์และศูนย์วัฒนธรรมอีสานใต้นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สนามฟุตบอลช้างอารีน่า (เดิมคือสนามฟุตบอลไอโมบาย) สนามแข่งรถมอเตอร์สปอร์ตระดับมาตรฐานโลก ChangInternational Circuit”  และจุดผ่อนปรนการค้าช่องสายตะกู


ตาราง ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกรายปี

 

ประเภทแหล่งท่องเที่ยว

จำนวนแหล่งท่องเที่ยว (แห่ง)

2559

2560

2561

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

6

6

6

แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิต

6

6

6

แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะวัฒนธรรม

20

24

24

แหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

3

3

3

แหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาและความเชื่อ

8

8

8

แหล่งท่องเที่ยวเชิงสันทนาการและบันเทิง

3

3

3

รวม

46

50

50

ตาราง ข้อมูลจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยว จำแนกรายปี

ด้านการท่องเที่ยว

ปี พ.ศ. 

2559

2560

2561

นักท่องเที่ยว (คน)

    1,535,714 

1,627,328

2,014,791

     -     ชาวไทย(คน)

    1,500,254 

1,590,783

1,944,150

     -     ชาวต่างประเทศ(คน)

        35,460 

36,545

70,641

โรงแรม/ที่พัก (แห่ง)

             169 

234

237

ห้องพัก (ห้อง)

          3,628 

5,495

5,602

ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว

ต่อคนต่อวัน ของจังหวัด (บาท)

 863.00 

1,061.79

1,191.48

รายได้ (ล้านบาท)

1,756.53

2,636.07

4,246.95

 

ตาราง เปรียบเทียบจำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกรายปี

ปี พ.ศ.

จำนวนนักท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์(คน)

ผลต่าง (%)

รายได้จากการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์  (ล้านบาท)

ผลต่าง (%)

2556

1,186,759

+10.18

1,659.79

+17.97

2557

1,248,763

+5.22

1,756.53

+5.83

2558

1,419,833

+13.70

2,039.37

+16.10

2559

1,535,714

+8.16

2,331.54

+14.33

2560

1,627,328

+5.97

2,636.07

+13.06

2561

2,014,791

+23.81

4,246.95

+489.09

2 เศรษฐกิจระดับครัวเรือน

 

ตาราง รายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือนจำแนกรายปี

 

รายการ

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

รายได้เฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือน (บาท/เดือน)

 

18,443

27,081.51

18,107.77

 

ตาราง รายจ่ายเฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือนจำแนกรายปี

 

รายการ

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

รายจ่ายเฉลี่ยครัวเรือนต่อเดือน (บาท/เดือน)

 

10,994

11,334.29

10,973.32

ตาราง หนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนต่อปี (บาท/ครัวเรือน)จำแนกรายปี

รายการ

ปี 2559

ปี 2560

ปี 2561

หนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนต่อปี

(บาท/ครัวเรือน)

 

159,766

102,775.15

98,624.20


สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนสายบุรีรัมย์-พุทไธสง ตำบลคูเมือง จ.บุรีรัมย์
โทรศัพท์. 044 119 989 Fax. 044 119 989
© Copyright 2021 สถานีพัฒนาที่ดินบุรีรัมย์

Thailand Web Stat