สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์





ผลงาน/ข้อมูลวิชาการ กรมพัฒนาที่ดิน
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ e-Library
ห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ e-Learning
การจัดการความรู้ KM LDD
คลังข้อมูลเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน Online
มหัศจรรย์ พด.


รายงานคาดการณ์พื้นที่ที่จะเกิดภัยธรรมชาติ
ภูมิสารสนเทศดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน GIS
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ
ระบบฐานข้อมูลกลุ่มชุดดิน
ดินของประเทศไทย
ความรู้ชุดดินไทย
แผนที่กลุ่มชุดดินบน Google
แผนที่คำแนะนำการจัดการดินรายตำบล
แผนที่ชุดดินรายอำเภอ
บริการแผนที่และข้อมูลภาพถ่ายออร์โธสี


สัญลักษณ์จังหวัดสุรินทร์
สภาพทั่วไปจังหวัดสุรินทร์
การเมืองการปกครอง
จำนวนประชากร
สภาพทางสังคม
การศึกษาและศาสนา
การสาธารณสุข
การคมนาคมและขนส่ง
การสื่อสาร
การไฟฟ้า - ประปา
การชลประทาน
สภาพทางเศรษฐกิจ
การผลิตพืชเศรษฐกิจ
การปศุสัตว์และประมง
การพาณิชย์และบริการ
ด้านแรงงาน
การเงินการคลัง
การอุตสาหกรรม

คำถามที่พบบ่อย

ถาม :: ปัญหาดินกรด
ตอบ :: ดินที่เป็นกรด จะมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือค่าพีเอช น้อยกว่า 7 แต่อย่างไรก็ตามระดับความเป็นกรดที่เป็นปัญหาต่อการเพาะปลูกพืช และการเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อมทางดิน จะเกิดอย่างรุนแรงเมื่อค่าพีเอชของดินต่ำกว่า 5.5 ดังนั้นในทางวิชาการ ปัญหาดินกรดจึงนิยามว่าเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง หรือพีเอชต่ำกว่า 5.5

ถาม :: ปัญหาดินเค็ม ดินเค็มคืออะไร ทำไมดินเค็มจึงทำการเกษตรกรรมไม่ได้
ตอบ :: ดินเค็มคือ ดินที่มีปริมาณเกลือที่ละลายน้ำได้มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืชดินเค็มที่พบดดยทั่วๆ ไป จำแนกได้ดังนี้ 1.ดินเค็ม (Saline soil) 2.ดินโซดิก (Sodic soil) 3.ดินเค็มโซดิน (Saline-solic soil) ซึ่งปัญหาดินเค็มโดยทั่วไปพื้นที่ดินเค็มจะมีปัญหาปลูกพืชไม่ได้ ผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ พืชมักจะเกิดอาการขาดน้ำและได้รับพิษจากธาตุเป็นส่วนประกอบของเกลือที่ละลายออกมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโซเดียมและคลอไรด์มีผลให้โครงสร้างของดินเลวลง ดินแน่น รตากพืชชอนไชไปได้ยาก นอกจากนี้ความเค็มยังมีผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารอื่นๆ เช่น โบรอน สังกะสี เป็นต้น หากไม่มีการแก้ไขจะส่งผลต่อผลผลิตทางเกษตรอย่างยิ่งยวด

ถาม :: การนำตัวอย่างดินไปทดสอบคุณสมบัติดิน จะนำไปทดสอบได้ที่ไหนบ้าง
ตอบ :: สามารถนำตัวอย่างดินมาติดต่อขอรับบริการที่สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน ภายในกรมพัฒนาที่ดิน ใกล้สี่แยกเกษตร ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0-2561-3167 ในวันและเวลาราชการ

ถาม :: ต้องทำเรื่องขอหญ้าแฝกอย่างไร
ตอบ :: สำหรับการขอรับหญ้าแฝกนั้น สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. ท่านผู้ขอสามารถไปขอรับหญ้าแฝกได้ด้วยตัวเองพร้อมกรอกแบบฟอร์มการขอ ที่สถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่ท่านไปขอรับ 2. ท่านสามารถแบบฟอร์มขอรับแฝกผ่านทางอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบบริการประชาชน บนเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th

ถาม :: ขอหญ้าแฝกได้ปริมาณเท่าไร?
ตอบ :: ในการขอหญ้าแฝก ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ว่าท่านผู้ขอจะนำไปใช้ประโยชน์ได้เพียงพอ กับความต้องการหรือไม่ เพราะแต่ละสถานีพัฒาที่ดินเขต 1 - 12 สามารถอนุมัติต้นกล้าแฝกได้ในจำนวน 30,000 ต้น

ถาม :: ขอรับสารเร่ง หรือขอซื้อ (พด.1,พด.2,พด.3)
ตอบ :: สำหรับการขอรับสารเร่งนั้นสามารทำได้ 2 วิธี คือ 1.ท่านผู้ขอสามารถไปขอสารเร่งได้ด้วยตัวเองพร้อมกรอกแบบฟอร์มการขอ ที่สถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่ที่ใกล้เคียงที่ท่านไปขอรับ 2. ท่านสามารถกรอกแบบฟอร์มขอรับสารเร่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบบริการประชาชน บนเว็บไซต์กรมพัฒนาที่ดิน http://www.ldd.go.th

ถาม :: วิธีการทำปุ๋ยหมัก
ตอบ :: การทำปุ๋ยหมัก (Composting) คัดแยกเอาขยะที่ไม่มีคุณค่าที่จะนำมาทำเป็นปุ๋ยออก เช่น เศษกระป๋อง แก้ว โลหะ และถุงพลาสติก ฯลฯ เหลือเฉพาะขยะที่สามารถจะถูกย่อยสลายโดยเชื้อจุลินทรีย์ได้ทำให้ขยะเป็นชิ้นเล็ก ๆ โดยส่งเข้าเครื่อง หั่นบดขยะจะถูกนำไปเข้าถังหมักถ้าเป็นระบบใช้อากาศย่อยสลายจะเป็นถังเปิดให้มีการระบายอากาศเข้าออกได้สะดวก ถังหมักจะเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เป็นแถว ๆ มีประมาณ 5 ชั้น โดยขยะที่เข้ามาในครั้งแรกจะอยู่ถังชั้นบนสุดเมื่อหมักครบ 1 วัน จะถูกพลิกกลับถ่ายลงถังซึ่งอยู่ในชั้นล่างถัดไปขนาดถังหมัก ลึกประมาณ 0.90 - 1.20 ม. X 2.5 - 3.0 ม. ด้านข้างของถังหมักจะทำเป็นรูโดยรอบ เพื่อให้มีการระบายอากาศได้รอบถังจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำปฏิกิริยาย่อยสลายได้มาก ที่สุดระยะเวลาของการย่อยสลายโดยระบบที่ใช้อากาศ (Aerobic Process)นี้ใช้เวลาประมาณ5-6วัน ก็จะทำให้เกิดการย่อยสลายของอินทรีย์สารได้ค่อนข้างสมบูรณ์ความร้อนที่เกิดขึ้นจากการหมัก จะทำให้พวกเชื้อโรคที่ติดมากับขยะหยุดการเจริญเติบโต และตายไปได้ ขยะที่หมักโดยสมบูรณ์นี้ จะมีความปลอดภัยมากพอที่จะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ อีกวิธีหนึ่งที่เลือกใช้ในการหมักขยะพวกที่มีความชื้นสูง คือ ระบบหมักไร้อากาศ (Anaerobic Process) คือเป็นการหมักขยะชนิดทีไม่ต้องใช้อากาศหรือ ออกซิเจนในการย่อยสลาย จึงต้องหมักในถังปิด การหมักใช้เวลานานกว่าวิธี Aerobic Process ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน จะย่อยสลายขยะได้สมบูรณ์ จึงจะนำมาใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ เช่นกัน นอกจากจะใช้วิธีกำจัดขยะมูลฝอยชนิดต่าง ๆแล้ว แผนการลดขยะมูลฝอยจากแหล่งกำเนิด และการนำมูลฝอยกลับไปใช้ใหม่ จะทำให้แผนการกำจัดมูลฝอยโดยรวมมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ถาม :: การบริการจากกรมพัฒนาที่ดินมีอะไรบ้าง
ตอบ :: 1. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนจัดการทรัพยากรดิน และที่ดินที่มีปัญหาเฉพาะ เช่น ปัญหาดินเค็ม ดินเปรี้ยว ดินชายทะเล และที่ดิน เสื่อมโทรมอื่นๆที่ให้ผลผลิตลดลง การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดิน ตลอดจน วางแผนระบบอนุรักษ์ดินและน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ 2. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 3. จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน การจัด ทำแหล่งน้ำในไร่นา และแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ผ่านทางคำขอตามระบบ กชช. ในแผนพัฒนาจังหวัด 4. ตรวจวิเคราะห์ดิน /น้ำ /พืช และตรวจสอบคุณภาพของปุ๋ย 5. ปัจจัยการผลิตบางประการ เช่น สารตัวเร่งทำปุ๋ยหมัก พันธุ์ พืชคลุมดินบำรุงดิน พันธุ์หญ้าทนเค็ม หญ้าแฝกและหินปูนฝุ่น เป็นต้น

ถาม :: การ download แบบฟอร์มในการขอรับบริการได้ที่ไหน
ตอบ :: สามารถกรอกข้อมูลขอรับสารเร่งพด. 1 2 3 ได้โดยเข้ามาสมัครสมาชิกใหม่โดยผ่านระบบบริการประชาชนกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นคลิ๊กเข้ามาที่สมัครสมาชิกใหม่ แล้วกรอกข้อมูลตามลำดับขั้นตอน เมื่อสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว ทางเราจะส่งสารเร่งไปให้ตามอนุมัติ

ถาม :: หมอดินอาสาคืออะไร
ตอบ :: หมอดินอาสาคือเกษตรกรที่มีความรักและสนใจในการทำการเกษตรและมีความต้องการจะรับอาสาเป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดินในการนำเอาเทคโนโลยีของกรมพัฒนาที่ดินไปถ่ายทอดให้แก่เพื่อนบ้านและผู้สนใจโดยการนำไปปฏิบัติหรือแนะนำอย่างถูกต้อง สมัครเป็นหมอดินอาสาได้ผ่านทางสถานีพัฒนาที่ดินใกล้บ้านเมื่อได้รับการคัดเลือกก็จะได้รับการติดต่อให้มาอบรมและรับความรู้เพื่อเป็นตัวแทนในการนำความรู้ทีได้ไปถ่ายทอดต่อไป

สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถ.สุรินทร์ - บุรีรัมย์ ต.คอโค อ.เมือง จ.สุรินทร์ 32000
โทรศัพท์.044-069905 Fax.044-069906
© Copyright 2014 สถานีพัฒนาที่ดินสุรินทร์ All rights reserved

.